วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557



บทความเกี่ยวกับสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย


                                               สื่อการสอนกับเด็กระดับปฐมวัย
             สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง วัสดุ ที่เด็กนำมาเล่นแล้วได้รับความสุข ได้ผ่อนคลาย ได้เรียนรู้ เป็นตัวกลางที่ทำให้เด็กเกิดความรู้จากการได้สัมผัส ได้ลงมือปฏิบัติช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวสาระความรู้จากครูสู่เด็ก
เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเข้าใจเรื่องยากๆด้วยความง่ายดาย
เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง

สาเหตุที่ครูต้องใช้สื่อการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่เป็นจริง
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนถึงสิ่งที่มีปัญหา เกี่ยวกับขนาด กาลเวลา และระยะทาง
3. ช่วยเร้าและกระตุ้นความสนใจ ทัศนคติที่ดีของผู้เรียน ช่วยให้เรียนได้ง่าย รวดเร็ว และเพลิดเพลิน
4. ช่วยแสดงกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยพูด
5. สร้างโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
6. ช่วยให้เรียนได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง
7. ช่วยให้มีความทรงจำต่อสิ่งที่เรียนได้นาน และนำไปใช้ได้ดีกว่า
คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อ การสอนจัดองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในระบบ การเรียนการสอนหรือระบบการศึกษา ในที่นี้จะพิจารณาเกี่ยวกับประโยชน์หรือคุณค่าของสื่อการสอนออกโดยแบ่งออก เป็น 2 ด้าน คือ
-  คุณค่าที่มีต่อผู้เรียน
-  คุณค่าที่มีต่อผู้สอน

1.คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน
1.1 ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
ช่วย ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเนื้อหาของบทเรียน ที่ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน เพราะอาจนับได้ว่า ความสนใจเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียนในที่สุด
1.2 ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเช่น การใช้ภาพวาดการใช้หุ่นจำลอง เป็นต้น
1.3 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
ผู้ เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ การใช้สื่อการสอนจะช่วยลดอุปสรรคหรือแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.4 ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
สื่อ การสอนที่ถูกออกแบบมาให้ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการส อน ช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ช่วยให้บรรยากาศของการเรียนการสอนมีชีวิตชีวา
1.5 ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
การ สอนหน่วยที่มีข้อจำกัด เช่น เนื้อหาที่มีความอันตราย เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ในอดีต เนื้อหามีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้น การใช้สื่อการสอนจะช่วยขจัดปัญหาในการสอนเนื้อหาที่มีข้อจำกัดดังที่ได้ กล่าวไปแล้วได้
1.6 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
สื่อ การสอนที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี ต้องเป็นสื่อการสอนที่สามารถกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนทำการเรียนรู้ด้วย ความกระตือรือร้น โดยให้ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน โดยควรเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ด้านการใช้ความคิดหรือกิจกรรมทางสมอง
1.7ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
การ ใช้สื่อการสอน จะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในห้องเรียนให้แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็น ประจำในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน

2. คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอน
2.1 ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมการสอนหรือเนื้อหาการสอน
ผู้ สอนไม่ต้องจดจำเนื้อหาบทเรียนทั้งหมดเพื่อนำมาบรรยายด้วยตนเอง เพราะรายละเอียดของเนื้อหา บทเรียนส่วนใหญ่จะถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน ในกรณีที่ต้องสอนซ้ำในเนื้อหาเดิม ก็สามารถนำสื่อการสอนที่เคยใช้สอนกลับมาใช้ได้อีก
2.2 ช่วยสร้างบรรยากาศในการสอนให้น่าสนใจ
การใช้สื่อการสอนจะช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความน่าสนใจขึ้นมาได้
2.3 ช่วยสร้างความมั่นใจในการสอนให้แก่ผู้สอน
การใช้สื่อการสอนจะช่วยให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะเนื้อหาเหล่านั้นสามารถที่จะบันทึกไว้ได้ในสื่อการสอน
2.4 กระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ
ใน ขั้นการเตรียมผลิตสื่อการสอน การเลือกสื่อการสอน หรือการจัดหาสื่อการสอน ตลอดจนการแสวงหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ในการสอน จะทำให้ผู้สอนเป็นผู้มีความตื่นตัว และมีการพิจารณาเพื่อทำให้การสอนบรรลุวัตถุประสงค์

คุณค่าของสื่อการสอนยังจำแนกเป็นรายด้านได้ 3 ข้อ
คือ          1. คุณค่าด้านวิชาการ
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา

1. คุณค่าด้านวิชาการ
1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่า
1.3ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
1.4 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มาก
1.5 ช่วยเร่งในการเรียนรู้ ทักษะ ทุกด้าน
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้ดีขึ้น
3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาดและระยะทาง

สรุปได้ว่า สื่อ การสอนมีคุณค่าต่อระบบการเรียนการสอนหรือการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งคุณค่าที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียน และผู้สอน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทมากในกระบวนการเรียนการสอน ประเด็นสำคัญของคุณค่าของสื่อการสอน คือ สื่อการสอนช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

ที่มา  : http://krunarm.blogspot.com/2012/01/blog-post_12.html

                                               การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย
               
                การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลสัมผัสสิ่งเร้า แล้วใช้ประสบการณ์หรือความรู้เดิม แปลความหมายของสิ่งเร้าที่สัมผัส ด้วยความใส่ใจ ดังนั้น การรับรู้ของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ จึงต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ
4 ประการ คือ
1)      สิ่งเร้าที่จะรับรู้
2)      อวัยวะสัมผัสหรือความรู้สึกสัมผัส
3)      ประสบการณ์หรือความรู้เดิมเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ได้สัมผัส
4)      ความใส่ใจหรือความตั้งใจที่จะรับรู้

อย่างไรก็ตาม การรับรู้เนื้อหาสาระต่างๆ จากสื่อของเด็กปฐมวัยนั้น เนื่องจากประสบการณ์และความพร้อมของอวัยวะสัมผัสที่จะรับรู้ของเด็กยังอยู่ ในขอบเขตจำกัด ดังนั้น การเลือกสิ่งเร้าที่จะเป็นสื่อเพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ หรือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะต้องเลือกให้เหมาะกับความสามารถในการรับรู้ และให้เหมาะกับประสบการณ์หรือความรู้เดิมที่เด็กมีอยู่

การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย แบ่งตามประสาทสัมผัสการรับรู้ ดังนี้
1.      การรับรู้ด้วยสื่อทางตาของเด็กปฐมวัย
2.      การรับรู้ด้วยสื่อทางหูของเด็กปฐมวัย
3.      การรับรู้ด้วยสื่อทางการสัมผัสและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย
4.      การรับรู้ด้วยสื่อทางจมูกของเด็กปฐมวัย
5.      การรับรู้ด้วยสื่อทางลิ้นของเด็กปฐมวัย

ที่มา  : http://campus.sanook.com/


                              สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว : สื่อนี้เพื่อใคร?

                เพื่อการเรียนรู้ให้เกิดผลในเชิงโครงสร้าง พัฒนาสู่การปฏิบัติการจริงในสังคม เป็นที่ยอมรับกันในระดับประเทศ และระดับนานาชาติมานานกว่าทศวรรษ ว่าสื่อมีอิทธิพลอย่างสูง ต่อการสร้างทัศนคติ
อัตลักษณ์ และคุณลักษณะต่างๆ ของผู้รับสื่อ แต่สัดส่วนเนื้อหา และรูปแบบรายการที่นำเสนอผ่านสื่อ มีมิติที่ไม่อาจส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้รับสื่อไปสู่คุณลักษณะใน เชิงบวกนั้นสูงมาก ปัญหาใหญ่หลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ทั้งปัญหาการพัฒนาเด็กและเยาวชน ปัญหาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน รวมทั้งความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำ ล้วนแต่ถูกจุดประกายมาจากสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อมเกือบทั้งสิ้น จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ เด็ก เยาวชน ครอบครัว นักวิชาการ และภาคนโยบายรัฐ เข้าเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นจริงในสังคม

                มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2586 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อการดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาเพื่อ ร่วมกัน สร้างพื้นที่สื่อที่เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ก่อให้เกิดความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ มีกิจกรรมเกิดขึ้นหลากหลาย เพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในด้านของการจัดสื่อเพื่อให้เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมทั้งยังเกิดกิจกรรมที่สร้างความเข้าใจในเรื่องสื่อให้แก่ภาคผู้ผลิต และภาคประชาสังคมขึ้นอีกด้วยและในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้เกิด สื่อสร้างสรรค์ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ขึ้นอย่างยั่งยืน โดยมีการขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย คือ
                1. การส่งเสริมให้เกิดมาตรการ การจัดความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ ( Rating )
                2.การ ผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวของการเรื่องของสื่อ ทั้ง ร่างพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, ร่างพระราชบัญญัติแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ , ร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ , ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม , ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
                3.การผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อ
                4.การ สร้างหลักสูตร สื่อมวลชนศึกษาให้เกิดขึ้นทั้งในระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษาแม้รัฐบาลชุดนี้จะประกาศงานวาระด้านเด็กและเยาวชน โดยมี วาระของ สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ร่วมอยู่ด้วย และก่อให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงชัดเจน ทั้งเรื่องของการจัดความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ การควบคุมโฆษณาขนมเด็กและแอลกอฮอล์ และเกิดสถานีวิทยุต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัวแล้ว แต่ก็ยังมีภารกิจอีกหลายด้าน ที่ยังต้องติดต่อและผลักดันให้เกิดผลในเชิงโครงสร้าง และมีการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงในสังคมอีก สามเรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน นั่นคือ
1. การผลักดันร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวของกับสื่อทั้งระบบ
ใน ขณะนี้มีร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสื่อหลายฉบับที่เมื่อมี การประกาศใช้แล้วจะก่อให้เกิด พื้นที่สื่อ ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้รับชม เนื่องจากจะเกิดการจัดการสื่อที่มีความเหมาะสมหลากหลาย เข้าถึงกับพลเมืองทุกกลุ่มในสังคม โดยมีแกนหลัก คือ ร่างพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย , ร่างพระราชบัญญัติแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ และ ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพราะเมื่อเกิด พื้นที่ หรือ ช่องทางที่เป็นสาธารณะแล้ว จะเป็นหลักประกันได้อย่างยิ่งว่าพลเมืองทุกกลุ่มในสังคมจะได้รับบริการ ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ต่างๆ ที่มีความเหมาะสม รอบด้าน หลากหลาย และเข้าถึงง่าย โดยขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติต่างๆ บางฉบับก็ได้รับการพิจารณาแล้วในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่า ร่างพระราชบัญญัติเหล่านี้ จะสามารถผ่านการพิจารณาและประกาศใช้ได้หรือไม่
2. การจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฯสำหรับการจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฯ มีความพยายามที่จะผลักดัน ให้จัดตั้งขึ้น เนื่องจากต้องการให้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาและสร้างสรรค์สื่อ ทั้งในมิติของการสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อย เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหารายการได้ในกรณีที่มีทุนไม่เพียงพอ มิติของการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับสื่อในด้านต่างๆ เพื่อให้ความรู้ต่อสังคมและเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนารายการ มิติของการสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สู่เด็ก เยาวชน โรงเรียน และภาคประชาสังคม และมิติสุดท้าย คือมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในพื้นที่สื่อ เพื่อเป็นกลไกในการเฝ้าระวังเนื้อหารายหารที่ไม่เหมาะสม และเป็นฐานข้อมูลสำคัญจากด้านผู้รับชมในการพัฒนาเนื้อหารายการที่เหมาะสมต่อ ไป แม้ว่าจะมีการผลักดันมาอย่างต่อเนื่องจากภาคผู้ผลิตและภาคประชาชน แต่ตอนนี้การจัดตั้งกองทุนฯ ก็ยังไม่สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
3. การนำหลักสูตร สื่อมวลชนศึกษาไปใช้ทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา
หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้มีนักวิชาการทางด้านสื่อสารมวลชนได้พัฒนาหลักสูตรที่สามารถ
นำ ไปทั้งในระบบการศึกษาภายในโรงเรียน และการศึกษาภายนอกโรงเรียน มีความพยายามผลักดันผ่านกระทรวงศึกษาธิการมาหลายปี แต่หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้ยังไม่ถูกนำไปใช้ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบ โรงเรียน หากจะมองให้ลึกลงไป ภายใต้หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้ จะสร้างองค์ความรู้ให้ผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจ และเท่าทันสื่อ ทำให้เกิดการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ และสังเคราะห์สื่อได้ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่สุด ที่จะสร้างเด็ก และเยาวชน ให้มีภูมิคุ้มกันทางความคิด และสามารถรับสื่อได้อย่างมีวิจารณญาณ เป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของผลกระทบจากสื่อต่อเด็กได้ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมที่สุด แต่อาจจะเห็นผลทางสังคมช้า เพราะการให้การศึกษาและพัฒนามนุษย์เป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลา
ทาง เครือข่ายสื่อเพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัวเห็นตรงกันที่จะเสนอแนวทางในการสร้างสื่อสร้างสรรค์สำหรับ เด็ก เยาวชนและครอบครัว เพื่อสร้างกลไกในการสนับสนุนให้นโยบายสื่อสร้างสรรค์ เป็นนโยบายที่สามารถปฏิบัติได้ผลจริงและยั่งยืนไว้ทั้งหมด 3 คือ
1. รัฐควรใช้สื่อของรัฐเองทั้งสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ คือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และ สถานีโทรทัศน์ TITV ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ในกำกับของรัฐ เป็นสถานีโทรทัศน์ต้นแบบที่นำเสนอรายการสร้างสรรค์ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ซึ่งอาจจะใช้กลไกของ ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับสื่อในฉบับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนผ่านในเชิงโครงสร้าง สู่การเป็นสถานีที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์ เหมาะสมกับพลเมืองทุกวัย ทุกกลุ่มในสังคม
2. รัฐควรสนับสนุนให้เกิดช่องทางการเผยแพร่รายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ เหมาะสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมทั้งผลักดันให้มีการกำหนดช่วงเวลาของผังรายการโทรทัศน์และการความคุมความ เหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ อย่างชัดเจน
3. รัฐควรและผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว ซึ่งกองทุนสื่อสร้างสรรค์มี ๔ ภารกิจสำคัญคือ
1. สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ทั้งนี้ โดยการจัดตั้งสถานีขึ้นใหม่ หรือ การพัฒนาสถานีของรัฐที่มีอยู่ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวโดยเฉพาะ
2. สนับสนุนให้เกิดการผลิตสื่อสร้างสรรค์ให้มีจำนวนมากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น
3. สนับสนุนให้เกิดการศึกษาวิจัยและพัฒนาสื่อ ในรูปของสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อทำให้เกิดข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาอันจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับ การผลิตสื่อสร้างสรรค์ นอกจากนั้นแล้ว กองทุนสื่อสร้างสรรค์ ยังต้องเป็นหน่วยฝึกอบรมให้กับผู้ผลิตทั้งรายเก่า และรายใหม่เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อความรู้ทางการวิจัย การผลิต ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนและครอบครัว ทั้งในระดับการเฝ้าระวังสื่อ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการติดตามเฝ้าดูสื่ออย่างใกล้ชิดและระดับของการผลิตสื่อ เพื่อทำให้รายการโทรทัศน์เกิดความหลากหลาย และ การให้เด็ก เยาวชนและครอบครัวในแต่ละพื้นที่มีโอกาสในการผลิตสื่อจะทำให้เกิดสื่อที่ตรง กับความต้องการของชุมชนแต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งนับว่ากองทุนฯ เป็นตัวเชื่อมสำคัญสำหรับส่งเสริมกลไก
4. รัฐบาลควรผลักดันให้เกิดหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อให้เด็ก เยาวชนสามารถในการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ สังเคราะห์ รวมทั้งประเมินค่าสื่อที่รับชม มีความสามารถในการเข้าถึงสื่อที่เป็นประโยชน์ พัฒนาตนเองเป็นผู้สื่อสาร ที่สามารถใช้สื่อชนิดต่าง ๆ เพื่อการสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีพื้นฐานจากการศึกษากระบวนการแบบมีส่วนร่วม

ที่มา : http://kronkamol.blogspot.com/2009/02/blog-post_11.html




                                                  สื่อเด็ก...ใครคิดว่าไม่สำคัญ

                คุณรู้ไหมว่าจากงานวิจัยที่สสส.ใช้เป็นฐานความคิดในการพัฒนาสื่อเด็ก พบว่า สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ
1 ใน 4 แหล่งพัฒนาการเติบโตของเด็กเป็นผู้ใหญ่ นอกเหนือจากครอบครัว เพื่อนและชุมชน
                ถ้าเทียบ***ส่วนการเรียนรู้ที่เด็กใช้แล้ว จะพบว่า สื่อมี***ส่วนมากที่สุด
                ยิ่งกว่านั้น สื่อเด็กยังมีผลในเชิงพัฒนาการเรียนรู้ทางสมอง ทางทักษะที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคม เรื่องคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งการทำให้เด็กมีความอดทนและมีความกล้าที่ฝ่าฟันอุปสรรคความยากทั้ง หลาย หากจะพูดถึงความสำคัญแล้ว พอจะแยกออกได้ดังนี้
                1.สื่อ มีประโยชน์ในแง่เป็นเครื่องมือเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก สื่อเด็กจะช่วยทำให้เด็กได้เรียนรู้โลกกว้าง เรียนรู้ความเป็นไปของโลก
                2.เป็นเพื่อนเด็ก ทุกวันนี้ในสังคมที่เป็นเติบโตเร่งรัด เด็กไม่มีโอกาสอยู่กับพ่อแม่ สื่อที่ดีจะเป็นเพื่อนเด็กได้
                แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมการนำเสนอของสื่อ นั่นก็เพราะว่าเด็กใช้สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ จึงจำเป็นต้องช่วยกันส่งเสริมให้สื่อเด็กมีคุณภาพ เหมาะสำหรับพัฒนาการและสอดคล้องกับชีวิตของเด็ก
                ในปัจจุบันนั้นสื่อเด็กที่ปรากฏว่าในรายการโทรทัศน์ แม้จะพยายามบอกว่าเป็นรายการเด็ก แต่เนื้อหาและความเป็นจริงไม่สอดคล้องกับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก เพราะมีภาพการใช้ความรุนแรง และเป็นรายการที่ผู้ใหญ่ทำให้เด็กดู จึงไม่สอดคล้องกับการเติบโตของเด็กจริงๆ

หากเปรียบเทียบสื่อเด็กใน ทีวีบ้านเรากับต่างประเทศแล้วจะเป็นคนละอย่างเลย เช่น อังกฤษ มีการส่งเสริมสื่อเด็กอย่างจริงจัง โดยมีช่องสำหรับเด็กแล็กและเด็กวัยรุ่น

มิ ใช่มีแต่สื่อทีวีหรือวิทยุ แต่ยังมีสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ อินเตอร์เน็ต เกมออนไลน์ ถึงแม้เกมเหล่านั้นจะมีประโยชน์ในแง่กระตุ้นในเรียนรู้ แต่เป็นสื่อที่ต้องควบคุม
                ขณะนี้ มีการรวมตัวของกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่บริโภคสื่อ รวมทั้งหน่วยงานทางสังคม จัดตั้งเป็นเครือข่ายสื่อเด็ก เพื่อขับเคลื่อนสังคมให้ช่วยกันดูแลสื่อเด็กให้ออกมาในทางสร้างสรรค์และเป็น ประโยชน์กับเด็กให้มากที่สุด นอกจากนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนให้เกิด กสช. โดยเร็วเพื่อช่วยกันจัดระบบสื่อโดยเฉพาะวิทยุโทรทัศน์ จะได้มีพื้นที่สำหรับเด็กโดยตรง
ความจริงทุกรัฐบาลมีนโยบายรองรับมาตลอด แต่ควรนำมาดำเนินการให้จริงจังมากขึ้น


                สื่อเด็กไม่ได้มีเฉพาะโทรทัศน์ วิทยุ แต่มีทางเลือกมากมาย ดังนั้น จึงส่งเสริมให้เด็กเข้ามาเรียนรู้ด้วยตัวเอง การมีสื่อที่เด็กทำด้วยตัวเองและมีส่วนร่วม เปิดพื้นที่ให้เด็กเข้ามาทำเอง ถือว่าสำคัญสำหรับผู้ใหญ่ที่จะส่งเสริมพัฒนาของลูกๆ หลานๆ เราทุกคน


ที่มา : http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-14-43326.html


                                   


 
สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย
(
Modern Media and Playing Materials for Young Children)
                สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย (Media and playing materials for the preschooler) เป็นผลพวงของความเจริญก้าว หน้า และศักยภาพในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดเป็นผลผลิตทางการเรียนรู้ให้แก่มนุษย์ชาติ เด็กปฐม วัยคือคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รอดผลจากผลกระทบทั้งหลายเหล่านั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องหันมาให้ความสนใจ และคิดใคร่ครวญถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ในการร่วมเรียนรู้ พัฒนา และสนับสนุน ส่งเสริมการใช้สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่       
                เพื่อพัฒนาเด็กทั้งรายบุคคลและในระบบกลุ่มสื่อและเครื่องเล่นโดยทั่วไป แล้ว มีคุณค่าในการเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานแก่เด็กในหลากหลายด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมถึงความเข้าใจในการทำหน้า ที่ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย เสริมจิตนาการและทักษะการสื่อสารระหว่างเพื่อนมนุษย์รอบๆตัว
                สื่อและเครื่องเล่น ยุคใหม่ในปัจจุบันนี้ มักปรากฏให้เห็นในรูปแบบดิจิตอลอนาล็อก โปรแกรม แอพพลิเคชั่น ที่ใช้ประกอบฮาร์ดแวร์ เช่น เครื่องโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตอีบุ๊คส์ หรือโปรแกรมทีวีออนไลน์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งาน สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆแก่เด็ก อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการเรียนรู้แบบดั้งเดิมเช่น การวาดภาพระบายสี การตัดแปะกระดาษต่างๆ ก็ยังมีความสำคัญ และเป็นกิจกรรมการพัฒนาหลักๆที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กใช้อวัยวะร่างกาย เช่น ลำแขน ฝ่ามือ และอวัยวะอื่นๆ ทำงานร่วมกันในการสร้างชิ้นงาน ตามความคิด ซึ่งสื่อยุคใหม่จะสามารถเข้ามาเติมเต็มให้เกิดผลผลิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ เช่นการสร้างรูปด้วย กล้องดิจิตอล วีดีโอ โทรศัพท์มือถือ เทปบันทึกเสียง ที่สร้างความบันเทิง ร่วมกับเสนอตัวช่วยในการสร้างชิ้นงานจากจิตนาการสร้างสรรค์ของแต่ละคน


ที่มา
: http://taamkru.com/th/
 



ครั้งที่ 14



** บันทึกการเรียน **
ประจำวันที่ 4 ธันวาคม  2557

( วันสุดท้ายของการเรียนการสอน)




วันนี้จัดแสดงนิทรรศการสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
รวบรวมสื่อของนักศึกษาตลอดภาคเรียนที่ได้ทำกันมา













































**สรุป**
        
         จากการเรียนการสอนตลอดภาคเรียน ทำให้เราได้ทราบถึงวิธีการทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยมากมาย การได้จัดทำสื่อในรูปแบบใหม่ ไม่ยากอย่างที่คิด สื่อแต่ละชิ้นย่อมมีประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น บางชิ้นอาจจะไปใช้ในการเรียนการสอน บางชิ้นอาจนำมาประดับตกแต่งห้องเรียน หรืออาจจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆอีกมากมาย ล้วนขึ้นอยู่กับครูผู้สอน การทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยยังเป็นการได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการอีกด้วย สามารถนำไปใช้ได้จริง