บทความเกี่ยวกับสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
สื่อการสอนกับเด็กระดับปฐมวัย
สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง วัสดุ ที่เด็กนำมาเล่นแล้วได้รับความสุข ได้ผ่อนคลาย ได้เรียนรู้ เป็นตัวกลางที่ทำให้เด็กเกิดความรู้จากการได้สัมผัส ได้ลงมือปฏิบัติช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง วัสดุ ที่เด็กนำมาเล่นแล้วได้รับความสุข ได้ผ่อนคลาย ได้เรียนรู้ เป็นตัวกลางที่ทำให้เด็กเกิดความรู้จากการได้สัมผัส ได้ลงมือปฏิบัติช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
•เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวสาระความรู้จากครูสู่เด็ก
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเข้าใจเรื่องยากๆด้วยความง่ายดาย
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
สาเหตุที่ครูต้องใช้สื่อการสอน
•1. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่เป็นจริง
•2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนถึงสิ่งที่มีปัญหา
เกี่ยวกับขนาด กาลเวลา และระยะทาง
•3. ช่วยเร้าและกระตุ้นความสนใจ
ทัศนคติที่ดีของผู้เรียน ช่วยให้เรียนได้ง่าย รวดเร็ว และเพลิดเพลิน
•4. ช่วยแสดงกรรมวิธีต่างๆ
ซึ่งไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยพูด
•5. สร้างโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
•6.
ช่วยให้เรียนได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง
•7. ช่วยให้มีความทรงจำต่อสิ่งที่เรียนได้นาน และนำไปใช้ได้ดีกว่า
•7. ช่วยให้มีความทรงจำต่อสิ่งที่เรียนได้นาน และนำไปใช้ได้ดีกว่า
คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อ
การสอนจัดองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในระบบ
การเรียนการสอนหรือระบบการศึกษา
ในที่นี้จะพิจารณาเกี่ยวกับประโยชน์หรือคุณค่าของสื่อการสอนออกโดยแบ่งออก เป็น 2 ด้าน คือ
-
คุณค่าที่มีต่อผู้เรียน
- คุณค่าที่มีต่อผู้สอน
1.คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน
1.1 ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
ช่วย
ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเนื้อหาของบทเรียน ที่ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน
เพราะอาจนับได้ว่า ความสนใจเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียนในที่สุด
1.2 ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
สะดวก และรวดเร็ว
ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเช่น
การใช้ภาพวาดการใช้หุ่นจำลอง เป็นต้น
1.3 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
ผู้
เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ
การใช้สื่อการสอนจะช่วยลดอุปสรรคหรือแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
ที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.4 ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
สื่อ
การสอนที่ถูกออกแบบมาให้ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการส อน
ช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ช่วยให้บรรยากาศของการเรียนการสอนมีชีวิตชีวา
1.5 ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
การ
สอนหน่วยที่มีข้อจำกัด เช่น เนื้อหาที่มีความอันตราย
เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ในอดีต เนื้อหามีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้น
การใช้สื่อการสอนจะช่วยขจัดปัญหาในการสอนเนื้อหาที่มีข้อจำกัดดังที่ได้
กล่าวไปแล้วได้
1.6 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
สื่อ
การสอนที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี
ต้องเป็นสื่อการสอนที่สามารถกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนทำการเรียนรู้ด้วย
ความกระตือรือร้น โดยให้ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน
โดยควรเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ด้านการใช้ความคิดหรือกิจกรรมทางสมอง
1.7ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน
สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
การ
ใช้สื่อการสอน
จะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในห้องเรียนให้แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็น
ประจำในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
2.
คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอน
2.1 ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมการสอนหรือเนื้อหาการสอน
ผู้
สอนไม่ต้องจดจำเนื้อหาบทเรียนทั้งหมดเพื่อนำมาบรรยายด้วยตนเอง
เพราะรายละเอียดของเนื้อหา บทเรียนส่วนใหญ่จะถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน
ในกรณีที่ต้องสอนซ้ำในเนื้อหาเดิม
ก็สามารถนำสื่อการสอนที่เคยใช้สอนกลับมาใช้ได้อีก
2.2 ช่วยสร้างบรรยากาศในการสอนให้น่าสนใจ
การใช้สื่อการสอนจะช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความน่าสนใจขึ้นมาได้
2.3 ช่วยสร้างความมั่นใจในการสอนให้แก่ผู้สอน
การใช้สื่อการสอนจะช่วยให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น
เพราะเนื้อหาเหล่านั้นสามารถที่จะบันทึกไว้ได้ในสื่อการสอน
2.4 กระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ
ใน
ขั้นการเตรียมผลิตสื่อการสอน การเลือกสื่อการสอน หรือการจัดหาสื่อการสอน
ตลอดจนการแสวงหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ในการสอน จะทำให้ผู้สอนเป็นผู้มีความตื่นตัว
และมีการพิจารณาเพื่อทำให้การสอนบรรลุวัตถุประสงค์
คุณค่าของสื่อการสอนยังจำแนกเป็นรายด้านได้ 3 ข้อ
คือ 1. คุณค่าด้านวิชาการ
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
1.
คุณค่าด้านวิชาการ
1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่า
1.3ส่วนเสริมด้านความคิด
และการแก้ปัญหา
1.4 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง
และจำเรื่องราวได้มาก
1.5 ช่วยเร่งในการเรียนรู้ ทักษะ ทุกด้าน
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
3.
คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้ดีขึ้น
3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ
คน
3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาดและระยะทาง
สรุปได้ว่า สื่อ การสอนมีคุณค่าต่อระบบการเรียนการสอนหรือการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งคุณค่าที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียน และผู้สอน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทมากในกระบวนการเรียนการสอน ประเด็นสำคัญของคุณค่าของสื่อการสอน คือ สื่อการสอนช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ที่มา : http://krunarm.blogspot.com/2012/01/blog-post_12.html
การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย
การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลสัมผัสสิ่งเร้า แล้วใช้ประสบการณ์หรือความรู้เดิม แปลความหมายของสิ่งเร้าที่สัมผัส ด้วยความใส่ใจ ดังนั้น การรับรู้ของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ จึงต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1)
สิ่งเร้าที่จะรับรู้
2)
อวัยวะสัมผัสหรือความรู้สึกสัมผัส
3)
ประสบการณ์หรือความรู้เดิมเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ได้สัมผัส
4)
ความใส่ใจหรือความตั้งใจที่จะรับรู้
อย่างไรก็ตาม
การรับรู้เนื้อหาสาระต่างๆ จากสื่อของเด็กปฐมวัยนั้น เนื่องจากประสบการณ์และความพร้อมของอวัยวะสัมผัสที่จะรับรู้ของเด็กยังอยู่
ในขอบเขตจำกัด ดังนั้น
การเลือกสิ่งเร้าที่จะเป็นสื่อเพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้
หรือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ
เพราะต้องเลือกให้เหมาะกับความสามารถในการรับรู้
และให้เหมาะกับประสบการณ์หรือความรู้เดิมที่เด็กมีอยู่
การรับรู้ด้วยสื่อของเด็กปฐมวัย
แบ่งตามประสาทสัมผัสการรับรู้
ดังนี้
1.
การรับรู้ด้วยสื่อทางตาของเด็กปฐมวัย
2.
การรับรู้ด้วยสื่อทางหูของเด็กปฐมวัย
3.
การรับรู้ด้วยสื่อทางการสัมผัสและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย
4.
การรับรู้ด้วยสื่อทางจมูกของเด็กปฐมวัย
5.
การรับรู้ด้วยสื่อทางลิ้นของเด็กปฐมวัย
สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว :
สื่อนี้เพื่อใคร?
เพื่อการเรียนรู้ให้เกิดผลในเชิงโครงสร้าง พัฒนาสู่การปฏิบัติการจริงในสังคม เป็นที่ยอมรับกันในระดับประเทศ และระดับนานาชาติมานานกว่าทศวรรษ ว่าสื่อมีอิทธิพลอย่างสูง ต่อการสร้างทัศนคติ
อัตลักษณ์ และคุณลักษณะต่างๆ ของผู้รับสื่อ แต่สัดส่วนเนื้อหา และรูปแบบรายการที่นำเสนอผ่านสื่อ มีมิติที่ไม่อาจส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้รับสื่อไปสู่คุณลักษณะใน เชิงบวกนั้นสูงมาก ปัญหาใหญ่หลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ทั้งปัญหาการพัฒนาเด็กและเยาวชน ปัญหาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน รวมทั้งความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำ ล้วนแต่ถูกจุดประกายมาจากสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อมเกือบทั้งสิ้น จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ เด็ก เยาวชน ครอบครัว นักวิชาการ และภาคนโยบายรัฐ เข้าเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นจริงในสังคม
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2586 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อการดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาเพื่อ ร่วมกัน “สร้าง” พื้นที่สื่อที่เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ก่อให้เกิดความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ มีกิจกรรมเกิดขึ้นหลากหลาย เพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในด้านของการจัดสื่อเพื่อให้เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมทั้งยังเกิดกิจกรรมที่สร้างความเข้าใจในเรื่องสื่อให้แก่ภาคผู้ผลิต และภาคประชาสังคมขึ้นอีกด้วยและในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้เกิด “ สื่อสร้างสรรค์ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ” ขึ้นอย่างยั่งยืน โดยมีการขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย คือ
1. การส่งเสริมให้เกิดมาตรการ การจัดความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ ( Rating )
2.การ ผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวของการเรื่องของสื่อ ทั้ง ร่างพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, ร่างพระราชบัญญัติแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ , ร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ , ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม , ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
3.การผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อ
4.การ สร้างหลักสูตร “สื่อมวลชนศึกษา” ให้เกิดขึ้นทั้งในระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษาแม้รัฐบาลชุดนี้จะประกาศงานวาระด้านเด็กและเยาวชน โดยมี วาระของ “ สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ” ร่วมอยู่ด้วย และก่อให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงชัดเจน ทั้งเรื่องของการจัดความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ การควบคุมโฆษณาขนมเด็กและแอลกอฮอล์ และเกิดสถานีวิทยุต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัวแล้ว แต่ก็ยังมีภารกิจอีกหลายด้าน ที่ยังต้องติดต่อและผลักดันให้เกิดผลในเชิงโครงสร้าง และมีการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงในสังคมอีก สามเรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน นั่นคือ
1. การผลักดันร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวของกับสื่อทั้งระบบ
ใน ขณะนี้มีร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสื่อหลายฉบับที่เมื่อมี การประกาศใช้แล้วจะก่อให้เกิด “ พื้นที่สื่อ ” ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้รับชม เนื่องจากจะเกิดการจัดการสื่อที่มีความเหมาะสมหลากหลาย เข้าถึงกับพลเมืองทุกกลุ่มในสังคม โดยมีแกนหลัก คือ ร่างพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย , ร่างพระราชบัญญัติแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ และ ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพราะเมื่อเกิด พื้นที่ หรือ ช่องทางที่เป็นสาธารณะแล้ว จะเป็นหลักประกันได้อย่างยิ่งว่าพลเมืองทุกกลุ่มในสังคมจะได้รับบริการ ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ต่างๆ ที่มีความเหมาะสม รอบด้าน หลากหลาย และเข้าถึงง่าย โดยขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติต่างๆ บางฉบับก็ได้รับการพิจารณาแล้วในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่า ร่างพระราชบัญญัติเหล่านี้ จะสามารถผ่านการพิจารณาและประกาศใช้ได้หรือไม่
2. การจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฯสำหรับการจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฯ มีความพยายามที่จะผลักดัน ให้จัดตั้งขึ้น เนื่องจากต้องการให้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาและสร้างสรรค์สื่อ ทั้งในมิติของการสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อย เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหารายการได้ในกรณีที่มีทุนไม่เพียงพอ มิติของการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับสื่อในด้านต่างๆ เพื่อให้ความรู้ต่อสังคมและเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนารายการ มิติของการสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สู่เด็ก เยาวชน โรงเรียน และภาคประชาสังคม และมิติสุดท้าย คือมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในพื้นที่สื่อ เพื่อเป็นกลไกในการเฝ้าระวังเนื้อหารายหารที่ไม่เหมาะสม และเป็นฐานข้อมูลสำคัญจากด้านผู้รับชมในการพัฒนาเนื้อหารายการที่เหมาะสมต่อ ไป แม้ว่าจะมีการผลักดันมาอย่างต่อเนื่องจากภาคผู้ผลิตและภาคประชาชน แต่ตอนนี้การจัดตั้งกองทุนฯ ก็ยังไม่สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
3. การนำหลักสูตร “สื่อมวลชนศึกษา” ไปใช้ทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา
หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้มีนักวิชาการทางด้านสื่อสารมวลชนได้พัฒนาหลักสูตรที่สามารถ
นำ ไปทั้งในระบบการศึกษาภายในโรงเรียน และการศึกษาภายนอกโรงเรียน มีความพยายามผลักดันผ่านกระทรวงศึกษาธิการมาหลายปี แต่หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้ยังไม่ถูกนำไปใช้ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบ โรงเรียน หากจะมองให้ลึกลงไป ภายใต้หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้ จะสร้างองค์ความรู้ให้ผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจ และเท่าทันสื่อ ทำให้เกิดการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ และสังเคราะห์สื่อได้ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่สุด ที่จะสร้างเด็ก และเยาวชน ให้มีภูมิคุ้มกันทางความคิด และสามารถรับสื่อได้อย่างมีวิจารณญาณ เป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของผลกระทบจากสื่อต่อเด็กได้ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมที่สุด แต่อาจจะเห็นผลทางสังคมช้า เพราะการให้การศึกษาและพัฒนามนุษย์เป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลา
ทาง เครือข่ายสื่อเพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัวเห็นตรงกันที่จะเสนอแนวทางในการสร้างสื่อสร้างสรรค์สำหรับ เด็ก เยาวชนและครอบครัว เพื่อสร้างกลไกในการสนับสนุนให้นโยบายสื่อสร้างสรรค์ เป็นนโยบายที่สามารถปฏิบัติได้ผลจริงและยั่งยืนไว้ทั้งหมด 3 คือ
1. รัฐควรใช้สื่อของรัฐเองทั้งสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ คือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และ สถานีโทรทัศน์ TITV ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ในกำกับของรัฐ เป็นสถานีโทรทัศน์ต้นแบบที่นำเสนอรายการสร้างสรรค์ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ซึ่งอาจจะใช้กลไกของ ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับสื่อในฉบับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนผ่านในเชิงโครงสร้าง สู่การเป็นสถานีที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์ เหมาะสมกับพลเมืองทุกวัย ทุกกลุ่มในสังคม
2. รัฐควรสนับสนุนให้เกิดช่องทางการเผยแพร่รายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ เหมาะสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมทั้งผลักดันให้มีการกำหนดช่วงเวลาของผังรายการโทรทัศน์และการความคุมความ เหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ อย่างชัดเจน
3. รัฐควรและผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว ซึ่งกองทุนสื่อสร้างสรรค์มี ๔ ภารกิจสำคัญคือ
1. สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ทั้งนี้ โดยการจัดตั้งสถานีขึ้นใหม่ หรือ การพัฒนาสถานีของรัฐที่มีอยู่ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวโดยเฉพาะ
2. สนับสนุนให้เกิดการผลิตสื่อสร้างสรรค์ให้มีจำนวนมากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น
3. สนับสนุนให้เกิดการศึกษาวิจัยและพัฒนาสื่อ ในรูปของสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อทำให้เกิดข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาอันจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับ การผลิตสื่อสร้างสรรค์ นอกจากนั้นแล้ว กองทุนสื่อสร้างสรรค์ ยังต้องเป็นหน่วยฝึกอบรมให้กับผู้ผลิตทั้งรายเก่า และรายใหม่เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อความรู้ทางการวิจัย การผลิต ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนและครอบครัว ทั้งในระดับการเฝ้าระวังสื่อ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการติดตามเฝ้าดูสื่ออย่างใกล้ชิดและระดับของการผลิตสื่อ เพื่อทำให้รายการโทรทัศน์เกิดความหลากหลาย และ การให้เด็ก เยาวชนและครอบครัวในแต่ละพื้นที่มีโอกาสในการผลิตสื่อจะทำให้เกิดสื่อที่ตรง กับความต้องการของชุมชนแต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งนับว่ากองทุนฯ เป็นตัวเชื่อมสำคัญสำหรับส่งเสริมกลไก
4. รัฐบาลควรผลักดันให้เกิด “หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา” ทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อให้เด็ก เยาวชนสามารถในการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ สังเคราะห์ รวมทั้งประเมินค่าสื่อที่รับชม มีความสามารถในการเข้าถึงสื่อที่เป็นประโยชน์ พัฒนาตนเองเป็นผู้สื่อสาร ที่สามารถใช้สื่อชนิดต่าง ๆ เพื่อการสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีพื้นฐานจากการศึกษากระบวนการแบบมีส่วนร่วม
เพื่อการเรียนรู้ให้เกิดผลในเชิงโครงสร้าง พัฒนาสู่การปฏิบัติการจริงในสังคม เป็นที่ยอมรับกันในระดับประเทศ และระดับนานาชาติมานานกว่าทศวรรษ ว่าสื่อมีอิทธิพลอย่างสูง ต่อการสร้างทัศนคติ
อัตลักษณ์ และคุณลักษณะต่างๆ ของผู้รับสื่อ แต่สัดส่วนเนื้อหา และรูปแบบรายการที่นำเสนอผ่านสื่อ มีมิติที่ไม่อาจส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้รับสื่อไปสู่คุณลักษณะใน เชิงบวกนั้นสูงมาก ปัญหาใหญ่หลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ทั้งปัญหาการพัฒนาเด็กและเยาวชน ปัญหาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน รวมทั้งความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำ ล้วนแต่ถูกจุดประกายมาจากสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อมเกือบทั้งสิ้น จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ เด็ก เยาวชน ครอบครัว นักวิชาการ และภาคนโยบายรัฐ เข้าเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นจริงในสังคม
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2586 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อการดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาเพื่อ ร่วมกัน “สร้าง” พื้นที่สื่อที่เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ก่อให้เกิดความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ มีกิจกรรมเกิดขึ้นหลากหลาย เพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในด้านของการจัดสื่อเพื่อให้เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมทั้งยังเกิดกิจกรรมที่สร้างความเข้าใจในเรื่องสื่อให้แก่ภาคผู้ผลิต และภาคประชาสังคมขึ้นอีกด้วยและในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้เกิด “ สื่อสร้างสรรค์ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ” ขึ้นอย่างยั่งยืน โดยมีการขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย คือ
1. การส่งเสริมให้เกิดมาตรการ การจัดความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ ( Rating )
2.การ ผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวของการเรื่องของสื่อ ทั้ง ร่างพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, ร่างพระราชบัญญัติแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ , ร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ , ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม , ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
3.การผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อ
4.การ สร้างหลักสูตร “สื่อมวลชนศึกษา” ให้เกิดขึ้นทั้งในระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษาแม้รัฐบาลชุดนี้จะประกาศงานวาระด้านเด็กและเยาวชน โดยมี วาระของ “ สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ” ร่วมอยู่ด้วย และก่อให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงชัดเจน ทั้งเรื่องของการจัดความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ การควบคุมโฆษณาขนมเด็กและแอลกอฮอล์ และเกิดสถานีวิทยุต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัวแล้ว แต่ก็ยังมีภารกิจอีกหลายด้าน ที่ยังต้องติดต่อและผลักดันให้เกิดผลในเชิงโครงสร้าง และมีการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงในสังคมอีก สามเรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน นั่นคือ
1. การผลักดันร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวของกับสื่อทั้งระบบ
ใน ขณะนี้มีร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสื่อหลายฉบับที่เมื่อมี การประกาศใช้แล้วจะก่อให้เกิด “ พื้นที่สื่อ ” ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้รับชม เนื่องจากจะเกิดการจัดการสื่อที่มีความเหมาะสมหลากหลาย เข้าถึงกับพลเมืองทุกกลุ่มในสังคม โดยมีแกนหลัก คือ ร่างพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย , ร่างพระราชบัญญัติแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ และ ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพราะเมื่อเกิด พื้นที่ หรือ ช่องทางที่เป็นสาธารณะแล้ว จะเป็นหลักประกันได้อย่างยิ่งว่าพลเมืองทุกกลุ่มในสังคมจะได้รับบริการ ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ต่างๆ ที่มีความเหมาะสม รอบด้าน หลากหลาย และเข้าถึงง่าย โดยขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติต่างๆ บางฉบับก็ได้รับการพิจารณาแล้วในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่า ร่างพระราชบัญญัติเหล่านี้ จะสามารถผ่านการพิจารณาและประกาศใช้ได้หรือไม่
2. การจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฯสำหรับการจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฯ มีความพยายามที่จะผลักดัน ให้จัดตั้งขึ้น เนื่องจากต้องการให้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาและสร้างสรรค์สื่อ ทั้งในมิติของการสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อย เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหารายการได้ในกรณีที่มีทุนไม่เพียงพอ มิติของการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับสื่อในด้านต่างๆ เพื่อให้ความรู้ต่อสังคมและเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนารายการ มิติของการสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สู่เด็ก เยาวชน โรงเรียน และภาคประชาสังคม และมิติสุดท้าย คือมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในพื้นที่สื่อ เพื่อเป็นกลไกในการเฝ้าระวังเนื้อหารายหารที่ไม่เหมาะสม และเป็นฐานข้อมูลสำคัญจากด้านผู้รับชมในการพัฒนาเนื้อหารายการที่เหมาะสมต่อ ไป แม้ว่าจะมีการผลักดันมาอย่างต่อเนื่องจากภาคผู้ผลิตและภาคประชาชน แต่ตอนนี้การจัดตั้งกองทุนฯ ก็ยังไม่สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
3. การนำหลักสูตร “สื่อมวลชนศึกษา” ไปใช้ทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา
หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้มีนักวิชาการทางด้านสื่อสารมวลชนได้พัฒนาหลักสูตรที่สามารถ
นำ ไปทั้งในระบบการศึกษาภายในโรงเรียน และการศึกษาภายนอกโรงเรียน มีความพยายามผลักดันผ่านกระทรวงศึกษาธิการมาหลายปี แต่หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้ยังไม่ถูกนำไปใช้ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบ โรงเรียน หากจะมองให้ลึกลงไป ภายใต้หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้ จะสร้างองค์ความรู้ให้ผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจ และเท่าทันสื่อ ทำให้เกิดการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ และสังเคราะห์สื่อได้ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่สุด ที่จะสร้างเด็ก และเยาวชน ให้มีภูมิคุ้มกันทางความคิด และสามารถรับสื่อได้อย่างมีวิจารณญาณ เป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของผลกระทบจากสื่อต่อเด็กได้ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมที่สุด แต่อาจจะเห็นผลทางสังคมช้า เพราะการให้การศึกษาและพัฒนามนุษย์เป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลา
ทาง เครือข่ายสื่อเพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัวเห็นตรงกันที่จะเสนอแนวทางในการสร้างสื่อสร้างสรรค์สำหรับ เด็ก เยาวชนและครอบครัว เพื่อสร้างกลไกในการสนับสนุนให้นโยบายสื่อสร้างสรรค์ เป็นนโยบายที่สามารถปฏิบัติได้ผลจริงและยั่งยืนไว้ทั้งหมด 3 คือ
1. รัฐควรใช้สื่อของรัฐเองทั้งสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ คือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และ สถานีโทรทัศน์ TITV ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ในกำกับของรัฐ เป็นสถานีโทรทัศน์ต้นแบบที่นำเสนอรายการสร้างสรรค์ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ซึ่งอาจจะใช้กลไกของ ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับสื่อในฉบับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนผ่านในเชิงโครงสร้าง สู่การเป็นสถานีที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์ เหมาะสมกับพลเมืองทุกวัย ทุกกลุ่มในสังคม
2. รัฐควรสนับสนุนให้เกิดช่องทางการเผยแพร่รายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ เหมาะสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมทั้งผลักดันให้มีการกำหนดช่วงเวลาของผังรายการโทรทัศน์และการความคุมความ เหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ อย่างชัดเจน
3. รัฐควรและผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว ซึ่งกองทุนสื่อสร้างสรรค์มี ๔ ภารกิจสำคัญคือ
1. สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ทั้งนี้ โดยการจัดตั้งสถานีขึ้นใหม่ หรือ การพัฒนาสถานีของรัฐที่มีอยู่ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวโดยเฉพาะ
2. สนับสนุนให้เกิดการผลิตสื่อสร้างสรรค์ให้มีจำนวนมากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น
3. สนับสนุนให้เกิดการศึกษาวิจัยและพัฒนาสื่อ ในรูปของสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อทำให้เกิดข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาอันจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับ การผลิตสื่อสร้างสรรค์ นอกจากนั้นแล้ว กองทุนสื่อสร้างสรรค์ ยังต้องเป็นหน่วยฝึกอบรมให้กับผู้ผลิตทั้งรายเก่า และรายใหม่เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อความรู้ทางการวิจัย การผลิต ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนและครอบครัว ทั้งในระดับการเฝ้าระวังสื่อ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการติดตามเฝ้าดูสื่ออย่างใกล้ชิดและระดับของการผลิตสื่อ เพื่อทำให้รายการโทรทัศน์เกิดความหลากหลาย และ การให้เด็ก เยาวชนและครอบครัวในแต่ละพื้นที่มีโอกาสในการผลิตสื่อจะทำให้เกิดสื่อที่ตรง กับความต้องการของชุมชนแต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งนับว่ากองทุนฯ เป็นตัวเชื่อมสำคัญสำหรับส่งเสริมกลไก
4. รัฐบาลควรผลักดันให้เกิด “หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา” ทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อให้เด็ก เยาวชนสามารถในการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ สังเคราะห์ รวมทั้งประเมินค่าสื่อที่รับชม มีความสามารถในการเข้าถึงสื่อที่เป็นประโยชน์ พัฒนาตนเองเป็นผู้สื่อสาร ที่สามารถใช้สื่อชนิดต่าง ๆ เพื่อการสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีพื้นฐานจากการศึกษากระบวนการแบบมีส่วนร่วม
ที่มา : http://kronkamol.blogspot.com/2009/02/blog-post_11.html
สื่อเด็ก...ใครคิดว่าไม่สำคัญ
คุณรู้ไหมว่าจากงานวิจัยที่สสส.ใช้เป็นฐานความคิดในการพัฒนาสื่อเด็ก พบว่า สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ 1 ใน 4 แหล่งพัฒนาการเติบโตของเด็กเป็นผู้ใหญ่ นอกเหนือจากครอบครัว เพื่อนและชุมชน
ถ้าเทียบ***ส่วนการเรียนรู้ที่เด็กใช้แล้ว จะพบว่า สื่อมี***ส่วนมากที่สุด
ยิ่งกว่านั้น สื่อเด็กยังมีผลในเชิงพัฒนาการเรียนรู้ทางสมอง ทางทักษะที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคม เรื่องคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งการทำให้เด็กมีความอดทนและมีความกล้าที่ฝ่าฟันอุปสรรคความยากทั้ง หลาย หากจะพูดถึงความสำคัญแล้ว พอจะแยกออกได้ดังนี้
1.สื่อ มีประโยชน์ในแง่เป็นเครื่องมือเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก สื่อเด็กจะช่วยทำให้เด็กได้เรียนรู้โลกกว้าง เรียนรู้ความเป็นไปของโลก
2.เป็นเพื่อนเด็ก ทุกวันนี้ในสังคมที่เป็นเติบโตเร่งรัด เด็กไม่มีโอกาสอยู่กับพ่อแม่ สื่อที่ดีจะเป็นเพื่อนเด็กได้
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมการนำเสนอของสื่อ นั่นก็เพราะว่าเด็กใช้สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ จึงจำเป็นต้องช่วยกันส่งเสริมให้สื่อเด็กมีคุณภาพ เหมาะสำหรับพัฒนาการและสอดคล้องกับชีวิตของเด็ก
ในปัจจุบันนั้นสื่อเด็กที่ปรากฏว่าในรายการโทรทัศน์ แม้จะพยายามบอกว่าเป็นรายการเด็ก แต่เนื้อหาและความเป็นจริงไม่สอดคล้องกับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก เพราะมีภาพการใช้ความรุนแรง และเป็นรายการที่ผู้ใหญ่ทำให้เด็กดู จึงไม่สอดคล้องกับการเติบโตของเด็กจริงๆ
หากเปรียบเทียบสื่อเด็กใน ทีวีบ้านเรากับต่างประเทศแล้วจะเป็นคนละอย่างเลย เช่น อังกฤษ มีการส่งเสริมสื่อเด็กอย่างจริงจัง โดยมีช่องสำหรับเด็กแล็กและเด็กวัยรุ่น
มิ ใช่มีแต่สื่อทีวีหรือวิทยุ แต่ยังมีสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ อินเตอร์เน็ต เกมออนไลน์ ถึงแม้เกมเหล่านั้นจะมีประโยชน์ในแง่กระตุ้นในเรียนรู้ แต่เป็นสื่อที่ต้องควบคุม
ขณะนี้ มีการรวมตัวของกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่บริโภคสื่อ รวมทั้งหน่วยงานทางสังคม จัดตั้งเป็นเครือข่ายสื่อเด็ก เพื่อขับเคลื่อนสังคมให้ช่วยกันดูแลสื่อเด็กให้ออกมาในทางสร้างสรรค์และเป็น ประโยชน์กับเด็กให้มากที่สุด นอกจากนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนให้เกิด กสช. โดยเร็วเพื่อช่วยกันจัดระบบสื่อโดยเฉพาะวิทยุโทรทัศน์ จะได้มีพื้นที่สำหรับเด็กโดยตรง
ความจริงทุกรัฐบาลมีนโยบายรองรับมาตลอด แต่ควรนำมาดำเนินการให้จริงจังมากขึ้น
สื่อเด็กไม่ได้มีเฉพาะโทรทัศน์ วิทยุ แต่มีทางเลือกมากมาย ดังนั้น จึงส่งเสริมให้เด็กเข้ามาเรียนรู้ด้วยตัวเอง การมีสื่อที่เด็กทำด้วยตัวเองและมีส่วนร่วม เปิดพื้นที่ให้เด็กเข้ามาทำเอง ถือว่าสำคัญสำหรับผู้ใหญ่ที่จะส่งเสริมพัฒนาของลูกๆ หลานๆ เราทุกคน
ที่มา : http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-14-43326.html
คุณรู้ไหมว่าจากงานวิจัยที่สสส.ใช้เป็นฐานความคิดในการพัฒนาสื่อเด็ก พบว่า สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ 1 ใน 4 แหล่งพัฒนาการเติบโตของเด็กเป็นผู้ใหญ่ นอกเหนือจากครอบครัว เพื่อนและชุมชน
ถ้าเทียบ***ส่วนการเรียนรู้ที่เด็กใช้แล้ว จะพบว่า สื่อมี***ส่วนมากที่สุด
ยิ่งกว่านั้น สื่อเด็กยังมีผลในเชิงพัฒนาการเรียนรู้ทางสมอง ทางทักษะที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคม เรื่องคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งการทำให้เด็กมีความอดทนและมีความกล้าที่ฝ่าฟันอุปสรรคความยากทั้ง หลาย หากจะพูดถึงความสำคัญแล้ว พอจะแยกออกได้ดังนี้
1.สื่อ มีประโยชน์ในแง่เป็นเครื่องมือเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก สื่อเด็กจะช่วยทำให้เด็กได้เรียนรู้โลกกว้าง เรียนรู้ความเป็นไปของโลก
2.เป็นเพื่อนเด็ก ทุกวันนี้ในสังคมที่เป็นเติบโตเร่งรัด เด็กไม่มีโอกาสอยู่กับพ่อแม่ สื่อที่ดีจะเป็นเพื่อนเด็กได้
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมการนำเสนอของสื่อ นั่นก็เพราะว่าเด็กใช้สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ จึงจำเป็นต้องช่วยกันส่งเสริมให้สื่อเด็กมีคุณภาพ เหมาะสำหรับพัฒนาการและสอดคล้องกับชีวิตของเด็ก
ในปัจจุบันนั้นสื่อเด็กที่ปรากฏว่าในรายการโทรทัศน์ แม้จะพยายามบอกว่าเป็นรายการเด็ก แต่เนื้อหาและความเป็นจริงไม่สอดคล้องกับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก เพราะมีภาพการใช้ความรุนแรง และเป็นรายการที่ผู้ใหญ่ทำให้เด็กดู จึงไม่สอดคล้องกับการเติบโตของเด็กจริงๆ
หากเปรียบเทียบสื่อเด็กใน ทีวีบ้านเรากับต่างประเทศแล้วจะเป็นคนละอย่างเลย เช่น อังกฤษ มีการส่งเสริมสื่อเด็กอย่างจริงจัง โดยมีช่องสำหรับเด็กแล็กและเด็กวัยรุ่น
มิ ใช่มีแต่สื่อทีวีหรือวิทยุ แต่ยังมีสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ อินเตอร์เน็ต เกมออนไลน์ ถึงแม้เกมเหล่านั้นจะมีประโยชน์ในแง่กระตุ้นในเรียนรู้ แต่เป็นสื่อที่ต้องควบคุม
ขณะนี้ มีการรวมตัวของกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่บริโภคสื่อ รวมทั้งหน่วยงานทางสังคม จัดตั้งเป็นเครือข่ายสื่อเด็ก เพื่อขับเคลื่อนสังคมให้ช่วยกันดูแลสื่อเด็กให้ออกมาในทางสร้างสรรค์และเป็น ประโยชน์กับเด็กให้มากที่สุด นอกจากนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนให้เกิด กสช. โดยเร็วเพื่อช่วยกันจัดระบบสื่อโดยเฉพาะวิทยุโทรทัศน์ จะได้มีพื้นที่สำหรับเด็กโดยตรง
ความจริงทุกรัฐบาลมีนโยบายรองรับมาตลอด แต่ควรนำมาดำเนินการให้จริงจังมากขึ้น
สื่อเด็กไม่ได้มีเฉพาะโทรทัศน์ วิทยุ แต่มีทางเลือกมากมาย ดังนั้น จึงส่งเสริมให้เด็กเข้ามาเรียนรู้ด้วยตัวเอง การมีสื่อที่เด็กทำด้วยตัวเองและมีส่วนร่วม เปิดพื้นที่ให้เด็กเข้ามาทำเอง ถือว่าสำคัญสำหรับผู้ใหญ่ที่จะส่งเสริมพัฒนาของลูกๆ หลานๆ เราทุกคน
ที่มา : http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-14-43326.html
สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย
(Modern Media and Playing Materials for Young Children)
สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย
(Media
and playing materials for the preschooler) เป็นผลพวงของความเจริญก้าว
หน้า และศักยภาพในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดเป็นผลผลิตทางการเรียนรู้ให้แก่มนุษย์ชาติ
เด็กปฐม วัยคือคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รอดผลจากผลกระทบทั้งหลายเหล่านั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
จะต้องหันมาให้ความสนใจ และคิดใคร่ครวญถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย
ในการร่วมเรียนรู้ พัฒนา และสนับสนุน ส่งเสริมการใช้สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ (Modern Media and Playing Materials for Young Children)
เพื่อพัฒนาเด็กทั้งรายบุคคลและในระบบกลุ่มสื่อและเครื่องเล่นโดยทั่วไป แล้ว มีคุณค่าในการเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานแก่เด็กในหลากหลายด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมถึงความเข้าใจในการทำหน้า ที่ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย เสริมจิตนาการและทักษะการสื่อสารระหว่างเพื่อนมนุษย์รอบๆตัว
สื่อและเครื่องเล่น ยุคใหม่ในปัจจุบันนี้ มักปรากฏให้เห็นในรูปแบบดิจิตอลอนาล็อก โปรแกรม แอพพลิเคชั่น ที่ใช้ประกอบฮาร์ดแวร์ เช่น เครื่องโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตอีบุ๊คส์ หรือโปรแกรมทีวีออนไลน์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งาน สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆแก่เด็ก อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการเรียนรู้แบบดั้งเดิมเช่น การวาดภาพระบายสี การตัดแปะกระดาษต่างๆ ก็ยังมีความสำคัญ และเป็นกิจกรรมการพัฒนาหลักๆที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กใช้อวัยวะร่างกาย เช่น ลำแขน ฝ่ามือ และอวัยวะอื่นๆ ทำงานร่วมกันในการสร้างชิ้นงาน ตามความคิด ซึ่งสื่อยุคใหม่จะสามารถเข้ามาเติมเต็มให้เกิดผลผลิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ เช่นการสร้างรูปด้วย กล้องดิจิตอล วีดีโอ โทรศัพท์มือถือ เทปบันทึกเสียง ที่สร้างความบันเทิง ร่วมกับเสนอตัวช่วยในการสร้างชิ้นงานจากจิตนาการสร้างสรรค์ของแต่ละคน
ที่มา : http://taamkru.com/th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น